วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557



บันทึกการเรียน  

1. นำเสนองานกลุ่ม
        
               - การพูด  
               
                    การส่งเสียงฮือฮา อ้อแอ้ของทารกมาเป็นคำเดียว ที่มีความหมายในวัย 1-2 ปี จนกระทั่งสามารถเปล่งเสียงออกมา เป็นคำพูดที่ต่อเนื่องกันเป็นประโยค เพื่อสื่อความหมาย และเล่าเรื่องได้ในเด็กอายุ 3-4 ปี


    การพัฒนาของภาษาพูด ทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
  1. ระบบการได้ยินที่ปกติ
  2. ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติ
  3. ระบบการออกเสียงที่ปกติ
  4. สิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เด็ก ต้องการพูดเป็นการสื่อสาร


นำเสนอ เรื่องการพูด กลุ่ม 102
นำเสนอ เรื่องการพูด กลุ่ม 101
               - การฟัง

                 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก ทั้งนี้ สาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 
            1. ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ 
            2. ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี หรือมีประโยชน์ต่อเด็ก
            3. ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง 

         - การอ่าน
                  
               การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น องค์ประกอบของการอ่านที่เด็กควรเรียนรู้
                1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ ได้แก่ การรู้ทิศทางในการถือหนังสือ การรู้ส่วนประกอบของหนังสือ และ การรู้ทิศทางในการอ่าน
                2. ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การรู้ว่าการอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กัน การรู้จักคำคุ้นตา การรู้ว่าคำคืออะไร การรู้จักตัวอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายของคำ และ การรู้รูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
                3. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ การรู้ความหมายของเครื่องหมายคำพูด เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายอัศเจรีย์
                4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ


นำเสนอ เรื่องการอ่าน

นำเสนอ เรื่องการอ่าน
         
           - การเขียน
                      
                    การเขียน เป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่เด็กควรเรียนรู้
                    1. การสร้างสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การสร้างภาพ และ/หรือข้อความ ด้วยการวาด การลอก การจำมาเขียนทั้งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องสมบูรณ์ การคิดพยัญชนะขึ้นเสียงของคำ ตลอดจนการคิดสะกดคำ
                    2. ทิศทางการเขียน หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งของสิ่งที่เขียน ตั้งแต่การจัดเรียงตามแนวตั้งและแนวนอนอย่างสะเปะสะปะ ไปจนกระทั่งเด็กสามารถเขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างอย่างสม่ำเสมอ
                    3. วิธีถ่ายทอดความหมายของสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การแสดงความหมายของภาพ และ/หรือข้อความที่ตนเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการบอกให้ครูช่วยเขียนให้ เขียนเองบางส่วน ตลอดจนเขียนเองทั้งหมด
                   4. ความซับซ้อนของความหมาย หมายถึง ความชัดเจน ความละเอียดลออ และครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อโดยใช้หน่วยไวยากรณ์ที่เป็นตัวอักษร คำ หรือประโยคง่ายๆ



นำเสนอ เรื่องการเขียน


2. ตอบคำถามจากสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
3. ทวนเพลงเด็ก 10 เพลง
ทวนเพลง 10 เพลง


             
   สิ่งที่ได้

1. ได้รู้พัฒนาการ ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  ของเด็กปฐมวัย
2. ได้ทวนเพลง 10  เพลง


วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2557



บันทึกการเรียน

1.  แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

               - ทฤษฎีการเรียนรุ้ของ B.F. Skinner
                  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขการกระทำ มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและ 
ลงโทษการเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ 
          1.การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
          2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)

                - ทฤษฎีของ John B. watson
                 ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข(Conditioned emotion)  วัตสัน ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ตีแท่งเหล็กให้เกิดเสียงดัง เด็กจะตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองนำหนูขาวมาให้เด็กดูใหม่ โดยให้แม่กอดและคอยปลอบเด็กไว้
จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว

 2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

               - ทฤษฎีของ Vygotsk
                  1. เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิติสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
                  2. สังคมบุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                  3. เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
                  4. ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้เเนะขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
                             
              - ทฤษฎีของ Piagt  (เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้ม)

 3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

                   - ทฤษฎีของ  Arnold  Gesell

   4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

                 - ทฤษฎีของ  Noam Chomsky
                 - ทฤษฎีของ  O.Hobart  Mowrer
                
                



              สอนร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย  10  เพลง



เพลงแปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน  กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน  ฟันสะอาดให้ขาวเงางาม
แปรงฟันให้ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

 เพลงอาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา  ฟอกสบู่ถูตัว
ชำระเหงือไคล  ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าได้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ

 เพลงล้างมือ
ก่อนกินอาหาร  เราต้องล้างมือ 
 เล่นมาเปลื้อนเปรอะ  เราต้องล้างมือ  
กลับจากห้องน้ำ เราต้องล้างมือ  
ล้างมือ ล้างมือ ล้างมือ ให้สะอาดเอย

เพลงกินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา  บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาวแตงกวา คะน้ากวางตุ้ง 
ผักบุ้งโหระพา  มะเขือเทศสีดา  ฟักทองกล่ำปลี

เพลงเรามีตาไว้ดู 
เรามีตาไว้ดู  เรามีหูไว้ฟัง 
 คุณครูท่านสอนท่านสั่ง  
ต้องตั้งใจฟัง  ต้องตั้งใจดู 

เพลงมาโรงเรียน 
เรามาโรงเรียน      เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทาน                สนุกสุขใจ 
เราเรียนเราเล่น        เราเป็นสุขใจ 
ร่าเริงแจ่มใส          ได้มาโรงเรียน
เพลงพี่น้องกัน 
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อแม่ ปู่ย่า ลุงป้า ตายาย
มีทั้งน้าอา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลงใครเอ่ย 
ใครกันเอ่ย ที่อุ้มชู เลี้ยงดูเรามา
ใครกันหนา รักเราดังดวงตา ดวงใจ
ใครกันเล่า ให้เราศึกษา ดังฝันใฝ่
เพื่อหวังให้เรา ได้ดีมีสุขเอย 

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวัน ร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวัน ร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วน แคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วน แคล่วคล่องว่องไว

เพลงเมื่อพบกัน 
ฉันและเธอเจอกัน แทบทุกวันเชียวเอย  
เมื่อเจอกันเราทักกัน เพื่อสมานไมตรี
ยิ้มให้กันทีไร สุขฤทัยเปรมปรีดิ์

 ที่พูดจาพาที สวัสดี ลาก่อน



      วาดรูปที่เราชอบและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน







ความรู้ที่ได้รับที่ได้รับ

    1. ได้รู้เกี่ยวกับทฤษฎี ของบุคคลต่างๆ
    2. ได้ฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน 2557


 เรียนเกี่ยวกับ

               - ความหมายของภาษา

                         ภาษา  หมายถึง  การสื่อความหมาย  เป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึก     
                   

                - ความสำคัญของภาษา

                         1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                         2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                         3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
                         4. ภาษาเป็นเครื่องช่วยจรรโลงจิตใจ

                 -ทักษะทางภาษา

                          ประกอบด้วย   การฟัง    การพูด  การอ่าน   การเขียน

                 - องค์ประกอบทางภาษา

                          1. Phonology  คือ   ระบบเสียงของภาษา
                          2. Semantic   คือ  ความหมายของภาษาและศัพท์
                          3. Syntax  คือ  ระบบไวยากรณ์
                          4. Pragmatic  คือ  ระบบการนำไปใช้

                  - พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

1. ระยะเปะปะ   อายุเเรกเกิด - 6 เดือน
2. ระยะเเยกเเยะ  อายุ  6 เดือน - 1 ปี
3. ระยะเลียนเเบบ  อายุ 1 -2 ปี
4. ระยะขยาย  อายุ 2 - 4 ปี
5. ระยะโครงสร้าง  อายุ 4 - 5 ปี
6. ระยะตอบสนอง อายุ 5 - 6 ปี
7. ระยะสร้างสรรค์  อายุ 6 ปีขึ้นไป

                    -ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านภาษา

1. วุฒิภาวะ
2. สิ่งแวดล้อม
3. การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4. การจัดชั้นเรียน
5. การมีส่วนร่วม

                       -พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย

              เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น  ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

                       -ฝึกคัดลายจาด ก -ฮ เเละสระภาษาไทย







 ภาพประกอบการเรียน





ผลที่ได้รับจากการเรียน

     1. ได้รู้ความหมายและความสำคัญของภาษา   
     2. ได้รู้จักเขียนพยัญชนะ ก - ฮ ที่ถูกต้อง
     3. ได้มีสมาธิในการคัดลายมือ

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2557



บันทึกการเรียน




    1. อ. เเชี้เเจงเเนะนำรายวิชา   
    2. สอนวิธีการสร้างบล็อก   
    3.สอนร้องเพลงให้นักศึกษากล้าเเสดงออก    
    4.สอนมารยาทในห้องเเละทำข้อตกลงกับนักศึกษาเรื่องการเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา    
    5.ทำกิจกรรมภาษาสำหรับเด็ก


   

ภาพประกอบการเรียน