วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557



บันทึกการเรียน  

1. นำเสนองานกลุ่ม
        
               - การพูด  
               
                    การส่งเสียงฮือฮา อ้อแอ้ของทารกมาเป็นคำเดียว ที่มีความหมายในวัย 1-2 ปี จนกระทั่งสามารถเปล่งเสียงออกมา เป็นคำพูดที่ต่อเนื่องกันเป็นประโยค เพื่อสื่อความหมาย และเล่าเรื่องได้ในเด็กอายุ 3-4 ปี


    การพัฒนาของภาษาพูด ทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
  1. ระบบการได้ยินที่ปกติ
  2. ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติ
  3. ระบบการออกเสียงที่ปกติ
  4. สิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เด็ก ต้องการพูดเป็นการสื่อสาร


นำเสนอ เรื่องการพูด กลุ่ม 102
นำเสนอ เรื่องการพูด กลุ่ม 101
               - การฟัง

                 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก ทั้งนี้ สาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน 
            1. ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ 
            2. ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี หรือมีประโยชน์ต่อเด็ก
            3. ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง 

         - การอ่าน
                  
               การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น องค์ประกอบของการอ่านที่เด็กควรเรียนรู้
                1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ ได้แก่ การรู้ทิศทางในการถือหนังสือ การรู้ส่วนประกอบของหนังสือ และ การรู้ทิศทางในการอ่าน
                2. ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การรู้ว่าการอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กัน การรู้จักคำคุ้นตา การรู้ว่าคำคืออะไร การรู้จักตัวอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายของคำ และ การรู้รูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
                3. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ การรู้ความหมายของเครื่องหมายคำพูด เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายอัศเจรีย์
                4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ


นำเสนอ เรื่องการอ่าน

นำเสนอ เรื่องการอ่าน
         
           - การเขียน
                      
                    การเขียน เป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่เด็กควรเรียนรู้
                    1. การสร้างสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การสร้างภาพ และ/หรือข้อความ ด้วยการวาด การลอก การจำมาเขียนทั้งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องสมบูรณ์ การคิดพยัญชนะขึ้นเสียงของคำ ตลอดจนการคิดสะกดคำ
                    2. ทิศทางการเขียน หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งของสิ่งที่เขียน ตั้งแต่การจัดเรียงตามแนวตั้งและแนวนอนอย่างสะเปะสะปะ ไปจนกระทั่งเด็กสามารถเขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างอย่างสม่ำเสมอ
                    3. วิธีถ่ายทอดความหมายของสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การแสดงความหมายของภาพ และ/หรือข้อความที่ตนเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการบอกให้ครูช่วยเขียนให้ เขียนเองบางส่วน ตลอดจนเขียนเองทั้งหมด
                   4. ความซับซ้อนของความหมาย หมายถึง ความชัดเจน ความละเอียดลออ และครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อโดยใช้หน่วยไวยากรณ์ที่เป็นตัวอักษร คำ หรือประโยคง่ายๆ



นำเสนอ เรื่องการเขียน


2. ตอบคำถามจากสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
3. ทวนเพลงเด็ก 10 เพลง
ทวนเพลง 10 เพลง


             
   สิ่งที่ได้

1. ได้รู้พัฒนาการ ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  ของเด็กปฐมวัย
2. ได้ทวนเพลง 10  เพลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น